รถยนต์ไฟฟ้า การแก้ปัญหาโลกร้อนที่ถูกทางที่สุด

บทวิเคราะห์จาก “วิจักขณ์ ชิตรัตน์” : เมื่อเร็วๆ นี้ผู้นำไทยสั่งหาทางนำรถไฟฟ้ามาใช้โดยเร็ว จากนั้นมีหน่วยงานหนึ่งให้ข่าวจะพยายามเอารถเมล์ไฟฟ้ามาใช้ภายในปีนี้ และไล่เลี่ยกันบริษัทโตโยต้าในไทยก็ออกมาพูดทำนองว่ารถไฟฟ้านั้นยังอีกไกลสำหรับไทย เพราะไม่ใช่แค่สร้าง หรือซื้อรถเข้ามา แต่ต้องมีสถานีชาร์จไฟให้พอก่อนด้วย ในชั้นนี้ควรเริ่มด้วยการใช้รถไฮบริด (น้ำมัน+ไฟฟ้า) ไปก่อน
เมื่อเดือนพ.ย.2558 มีการประชุม COP 21 ที่ปารีส เพื่อหาทางแก้ปัญหาโลกร้อน และสิ่งหนึ่งที่ตกลงกันก็คือ ทุกชาติต้องหาทางลดปริมาณก๊าซก่อเรือนกระจกลงให้ได้ ซึ่งไทยเองก็ได้ลงนามยอมรับพันธะนี้แล้ว ด้วยอัตราลดลง 20-25%

แต่อย่าเพิ่งดีใจไป เพราะความตกลง COP 21 ยังไม่มีผลบังคับใช้ จนกว่าประเทศที่ลงนามอย่างน้อย 45 ประเทศจะให้สัตยาบัน และทั้ง 45 ประเทศนี้จะต้องเป็นประเทศที่สร้างก๊าซเรือนกระจกรวมกันไม่น้อยกว่า 45% ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก

ความหมายคือจะแก้เรื่องโลกร้อนได้ก็ต้องเอาตัวใหญ่ๆ ที่สร้างปัญหามาร่วมวงด้วย เช่น สหรัฐ จีน อินเดีย

แต่แสงสว่างพอเห็นรำไร เพราะจีนและสหรัฐนั้นกำลังจะให้สัตยาบันเร็วๆ นี้ และเมื่อไม่นานมานี้เช่นกันที่ฝ่ายสหรัฐติดต่อขอให้ไทยเร่งให้สัตยาบันต่อความตกลงนี้ เพื่อเดินหน้าโดยเร็ว

การสั่งให้เอารถไฟฟ้ามาใช้งานนั้น จึงเป็นการเริ่มต้นที่ดี

วกกลับมาที่ข้อคิดของบริษัทโตโยต้า ประเทศไทย ยอดขายรถไฮบริดทั่วโลกเกิน 1 ล้านคันนานแล้ว และโตโยต้าก็ครองตลาดรถประเภทนี้มากกว่าทุกชาติ

แต่ปัญหาคือ แบตเตอรี่ใหญ่ หนัก วิ่งได้ไม่ไกล และใช้เวลาชาร์จไฟนาน ตัวเลือกที่มาแรงกว่าก็คือ รถยนต์ไฟฟ้า ?เซลล์พลังงาน? ที่ได้มาจากปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างไฮโดรเจนกับออกซิเจน และสิ่งที่เหลือจากปฏิกิริยานี้คือน้ำ แปลว่าไอเสียของรถไฟฟ้าแบบนี้คือ ?น้ำ? ไม่ใช่ก๊าซเรือนกระจกอีกต่อไป

โตโยต้าเองนำรถไฟฟ้าเซลล์พลังงานออกขายแล้วในสหรัฐ และยุโรป รวมทั้งเกาหลีก็พยายามจะวางตลาดให้ได้ในปี 2560

แคลิเฟอร์เนียเป็นรัฐที่สนับสนุนเรื่องนี้มากสุด มีที่เติม พลังงานสำหรับรถแบบนี้แล้ว 20 แห่ง และจะเพิ่มเป็น 50 แห่งในปีหน้า ส่วนญี่ปุ่น ผู้ผลิตรถเองมีสถานี 80 แห่งตั้งแต่ 2 ปีก่อน ส่วนเดนมาร์ก เยอรมนี เบลเยียม อังกฤษ ก็เริ่มตื่นตัวแล้ว

รถโตโยต้ารุ่นนี้คือ มิราอิ ขณะนี้มียอดขายไม่ถึง 3,000 คันในสหรัฐ แต่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 13,000 ในปีหน้า และในปี 2020 (อีกแค่ 4 ปี) รถไฟฟ้ารุ่นนี้จะมียอดขายที่ 30,000 คันต่อปี

ทำไมถึงคาดกันแบบนี้? เพราะรถมิราอิใช้เวลาเติมพลังงานแบบเดียวกับที่เราเติมน้ำมัน และใช้เวลาแค่ 3-4 นาที ที่สำคัญขณะนี้ราคาที่สหรัฐ (หลังลดหย่อนภาษีแล้ว) อยู่ที่ 1.4 ล้านบาท เติมพลังงานครั้งหนึ่งวิ่งได้ 300-400 ก.ม. และเฉลี่ยแค่ 5 บาท/ ก.ม.เท่านั้น

ถูกและแก้ปัญหาโลกร้อนได้ตรงเป้าจริงๆ

ขอขอบคุณบทความจาก ซ http://daily.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObWIzSXdOVEEzTURnMU9RPT0

ความเห็นของคุณ

comments

ใส่ความเห็น